สุนัขกินกระดูกได้หรือไม่?? rtbcenter Apr 18, 17 สุนัขกินกระดูกได้หรือไม่?? จากความเชื่อที่มีกันมานาน ระหว่างสุนัขกับกระดูก เช่น “หมาก็ต้องกินกระดูกสิ” หรือ “ก็กินมาตั้งนานไม่เห็นเป็นอะไร” แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งจากหลายฝ่ายว่า “กระดูกมันจะติดคอมั้ย?” หรือ “ให้กินกระดูกระวังมันไปทิ่มลำไส้นะ” วันนี้เราลองมาหาคำตอบกันว่า สรุปแล้วสุนัขกินกระดูกได้หรือไม่ แล้วการกินกระดูกมีผลอย่างไรกับสุนัข? ให้กินนิดหน่อย แล้วจะเป็นไรไป? 1. ฟันหัก – ยิ่งถ้าเป็นกระดูกชิ้นใหญ่และแข็ง อย่างกระดูกหมู ยิ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฟันแตกหักได้ 2. การบาดเจ็บในช่องปากและลิ้น – เมื่อกระดูกแตกออกเป็นชิ้น บางชิ้นอาจมีลักษณะแหลมคม ทำให้เกิดแผลในปากหรือบนลิ้นได้ 3. อุดหลอดอาหาร – อาการที่พบเช่น พยายามขาก ไอ อาเจียน มันพบหลังทานกระดูกเข้าไปทันที 4. อุดหลอดลม – เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะกระดูกชิ้นเล็ก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินเนื่องจากสามารถทำให้สุนัขเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้ 5. ติดในกระเพาะอาหาร – หากกระดูกผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะมาได้ แต่ขนาดใหญ่เกินไปที่จะผ่านออกจากกระเพาะ จนทำให้เกิดการอุดตันได้ 6. อุดตันในลำไส้ – ทำให้เกิดการอุดตัน ขัดขวางการย่อยและขับถ่าย ทำให้เกิดอาการท้องผูก หรืออาเจียน READ MORE
แมวชื่อขนฟู rtbcenter Apr 18, 17 แมวชื่อขนฟู พันธุ์ผสม หายไปจากบ้าน โดนสุนัขกัด กลับมามีอาการหายใจลำบาก จากการตรวจร่างกาย แมวค่อนข้างซึม หายใจลำบาก มีอาการรั่วจากปอดที่ตำแหน่งซี่โครงประมาณซี่ที่ 12 ทำให้ผิวหนังพองยุบมีอากาศรั่วออกจากปอด และมีอากาศใต้ชั้นผิวหนัง(subcutaneous emphysema) จากภายนอกไม่พบแผล แต่หลังจากโกนขน พบแผลโดนกัดเป็นรอยเขี้ยวเล็กๆ จาก ฟิล์มเอกซเรย์ พบกล้ามเนื้อระหว่าง ซี่โครงที่11-12-13มีการฉีดขาด (intercostal muscle rupture) เบื้องต้นได้ทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจน ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดปวด พันกดช่องอก หลังจากอาการคงที่ ทำการแก้ไขด้วยการผ่าตัด ผ่าตัดแก้ไขภายใต้การดมยาสลบและใช้เครื่องช่วยหายใจ เย็บซ่อมกล้ามเนื้อซี่โครงที่มีการฉีกขาด หลังจากผ่าตัด ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาลดปวดลดอักเสบ พันกดช่องอกไว้เป็นเวลา1 อาทิตย์ ขณะนี้น้องขนฟู ตัดไหมเรียบร้อยแล้ว การหายใจดี และกลับบ้านเรียบร้อยแล้วค่ะ อ้างอิง Jose Rogriguez Gomez(2013).Small animall surgery. First edition.SERVET. 84-85. เรียบเรียงโดย สพ.ญ.จุฑารัตน์ บารมี READ MORE
เห็บและหมัดแตกต่างกันอย่างไร rtbcenter Apr 18, 17 เจ้าของหลายท่านอาจเคยสงสัยกันว่า เจ้าตัวกลมๆที่เดินไต่ไปมาอยู่บนตัวสุนัขของเราเป็นเห็บ หรือหมัดกันแน่ วันนี้เรามีวิธีการสังเกตความแตกต่างระหว่างเห็บกับหมัดแบบง่ายๆมาฝากกันค่ะ เห็บ ตัวเต็มวัยของเห็บจะมี 8 ขา ลำตัวแบนจากด้านบนลงมาด้านล่าง โดยเห็บตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์แล้วจะดูดกินเลือดสุนัขจนตัวเปล่ง มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จากนั้นจะหล่นลงมาจากตัวสุนัขเพื่อหาที่สำหรับวางไข่ เห็บตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ได้ประมาณ 2,000-4,000 ใบ หลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อย เห็บตัวเมียจะตายทันที เห็บในระยะต่างๆ หมัด ตัวเต็มวัยของหมัดจะมี 6 ขา ลำตัวแบนจากทางด้านข้าง หมัดสามารถกระโดดได้ไกลเนื่องจากมีขาหลังชนิดกระโดดที่แข็งแรง หมัดจะวางไข่ได้วันละ 50 ฟอง และใน 1 ปี หมัดสามารถแพร่พันธุ์หลังจากดูดเลือดสุนัขเพียง 1 ครั้งเป็นจำนวนกว่าแสนตัว ปัญหาเห็บหมัดอาจเป็นปัญหาที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายท่านกำลังพยายามหาทางแก้ไขอยู่ เพราะนอกจากจะดูสกปรกแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย การควบคุมเห็บหมัดให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องควบคุมเห็บหมัดทั้งบนตัวสุนัข และบริเวณสิ่งแวดล้อมที่สุนัขอาศัยอยู่ ที่สำคัญควรป้องกันเห็บหมัดต่อเนื่องเป็นประจำสม่ำเสมอด้วยค่ะ สอบถามข้อมูลการป้องกันเห็บหมัดเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์สาขา 3 ปทุมธานี หรือโทร 02-5814483-4 ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา READ MORE
สุนัขเป็นมะเร็งหรือเปล่าคะคุณหมอ? rtbcenter Apr 18, 17 มีหลายครั้งที่เจ้าของสังเกตเห็นก้อนผิดปกติที่ผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะสังเกตเห็นตั้งแต่ก้อนมีขนาดเล็กๆ หรือสังเกตเห็นเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่มากแล้วโดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์ขนยาว หากไม่ได้ลูบคลำตัวสุนัขบ่อยๆทุกวัน เจ้าของบางท่านก็อาจไม่ทราบได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนมีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่คำถามที่หมอพบบ่อยคงหนีไม่พ้น “ก้อนนี้เป็นมะเร็งไหมคะ?” “แล้วจะอันตรายหรือเปล่า ต้องรักษายังไง?” วันนี้เรามีคำตอบค่ะ มะเร็งเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกตัว โดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมาก โดยในปัจจุบันพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น อาจเนื่องจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีการการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงเปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัว ทำให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น เช่นเดียวกับในคน หากมีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกก่อนที่มะเร็งจะเกิดการกระจายไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่าก้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นทุกครั้งจะเป็นมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นก้อนฝี หรือก้อนเนื้อธรรมดาก็ได้ อาการที่เจ้าของสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ การสังเกตพบก้อนผิดปกติที่ผิวหนังภายนอกร่างกาย โดยก้อนดังกล่าวมีการโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีการกระจายไปยังตำแหน่งอื่นๆ เป็นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย มีเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งออกมาอยู่ตลอด อาการอื่นๆที่ไม่จำเพาะ เช่น มีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหาร เซื่องซึมลง ไม่ออกกำลังหรือออกกำลังได้ไม่เท่าเดิม หายใจลำบาก ปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก เป็นต้น มะเร็งที่พบได้ในสุนัขเพศผู้ที่เป็นทองแดง (ลูกอัณฑะไม่อยู่ในถุงอัณฑะครบทั้ง 2 ข้าง แต่ยู่ในช่องท้อง) เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ลูกอัณฑะที่อยู่ในช่องท้องอาจมีขนาดโตขึ้นและกลายเป็นมะเร็งได้ ในสุนัขเพศเมียมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก เป็นต้น ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น ร๊อตไวเลอร์ โดเบอร์แมน และเยอรมัน READ MORE