กระต่ายเป็นสัตว์ที่เชื่อง ไร้เดียงสา และน่ารัก แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ แต่หากตัดสินใจรับกระต่ายมาเลี้ยงแล้วควรใส่ใจดูแลเพื่อให้กระต่ายมีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาว การศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรให้ความสนใจ วันนี้เรามีเทคนิคการเลือกกระต่ายก่อนรับมาเลี้ยงดูมาฝากกันค่ะ 1. ควรศึกษาข้อมูลของพันธุ์กระต่ายที่สนใจเลี้ยงก่อน รวมทั้งลักษณะนิสัยและการดูแลของพันธุ์นั้นๆ 2. ลักษณะกระต่ายที่มีสุขภาพดี ควรมีท่าทางที่สดใส ร่าเริง กินอาหารเก่ง สนใจสิ่งแวดล้อม เมื่อได้ยินเสียงมีการหยุดฟังหรือใบหูมีการตอบสนอง ขนตามตัวต้องไม่พันกัน ไม่มีอุจจาระติดก้น หรือติดขน ไม่มีกลิ่นเหม็น ตามตัวไม่มีบาดแผล 3. ดวงตาสดใส ไม่มีขี้ตาเกรอะกรัง ไม่มีสะเก็ดหรือขนร่วงรอบตา ไม่พบคราบน้ำตาหรือน้ำตาไหล 4. จมูก ไม่มีน้ำมูก หรือคราบน้ำมูก อาจสังเกตจากมือทั้ง 2 ข้างถ้ามีคราบของน้ำมูก หรือขนพันกันแข็ง แสดงว่ากระต่ายมีการเช็ดน้ำมูก 5. การหายใจ ไม่อ้าปากหายใจ หรือหายใจมีเสียงดังซึ่งบ่งบอกว่าอาจป่วยด้วยโรคในระบบทางเดินหายใจ 6. ใบหู ทั้งด้านในและด้านนอก ไม่มีขนร่วง หรือเป็นสะเก็ด ไม่มีอาการคัน หากมีอาการดังกล่าวอาจบ่งบอกว่ามีการป่วยด้วยโรคผิวหนัง 7. อุจจาระ ต้องถ่ายอุจจาระเป็นก้อนปกติ 8. ไม่พบน้ำลายไหลเลอะใต้คาง ฟันปกติ
ทำไมต้องทำหมัน ?… การทำหมันมีประโยชน์อย่างไร ? … ถ้าไม่อยากให้สัตว์เลี้ยงมีลูกฉีดยาคุมให้แทนได้ไหมคะ ? … หลากหลายคำถามจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการทำหมัน วันนี้เราจึงมีข้อดีของการพาสุนัขและแมวไปทำหมันมาฝากกันค่ะ การทำหมัน เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ถาวร สามารถทำได้ทั้งสัตว์เลี้ยงเพศผู้ และเพศเมีย โดยในเพศผู้จะเป็นการผ่าตัดนำลูกอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง ส่วนเพศเมียเป็นการผ่าตัดนำส่วนของมดลูกและรังไข่ออก อายุที่เหมาะสมในการทำหมันคือ อายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป หากเจ้าของไม่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงผสมพันธุ์มีลูกเพิ่ม การทำหมันถือเป็นวิธีในการควบคุมประชากรสัตว์เลี้ยงที่ดีที่สุด นอกจากนี้การทำหมันยังมีประโยชน์อื่นๆ ดังนี้ ลด การปัสสาวะเรี่ยราด เพื่อแสดงอาณาเขต เจ้าของหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข หรือแมวเพศผู้ คงจะประสบปัญหาที่เจ้าตัวยุ่งชอบฉี่ตามที่ต่างๆเพื่อแสดงอาณาเขต หรือทำเครื่องหมาย ทำให้เกิดความสกปรก และมีกลิ่นเหม็นของฉี่ไปทั่วบ้าน การทำหมันอาจช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวได้ร่วมกับการฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง ลด การหนีเที่ยวนอกบ้าน เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และระยะเป็นสัด สุนัขและแมวมักมีพฤติกรรมการหนีออกไปเที่ยวนอกบ้าน เพื่อไปผสมพันธุ์กับสัตว์เพศตรงข้าม นอกจากจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์จรจัดแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การต่อสู้กับสัตว์ตัวอื่นนอกบ้าน เป็นแผลโดนกัด ติดเชื้อ เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือโดนวางยาได้ ลด ความก้าวร้าว พฤติกรรมก้าวร้าวทั้งการต่อสู้ระหว่างสุนัขด้วยกัน หรือการก้าวร้าวกับคนในบ้าน
การดูแลลูกสุนัขแรกคลอดจนถึงช่วงหย่านม เมื่อมีสมาชิกใหม่ของบ้านลืมตาดูโลก เป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรทราบว่าเราจะมีวิธีการดูแลเจ้าสุนัขตัวน้อยนี้อย่างไรบ้าง และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่แม่สุนัขไม่ยอมเลี้ยงลูก หรือไม่มีน้ำนม รวมทั้งกรณีที่นำลูกสุนัขก่อนหย่านมมาเลี้ยงใหม่ด้วยค่ะ 1. การให้นมสำเร็จรูป ชดเชยนมจากแม่สุนัข สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ โดยส่วนใหญ่จะมี 2 แบบ คือ นมผงสำหรับลูกสุนัข แบ่งเป็นสองเกรด คือ เกรดพรีเมี่ยม และเกรดธรรมดา จุดที่แตกต่างกันคือ นมเกรดพรีเมี่ยมมักจะมีปริมาณโปรตีนในนมสูงกว่าเกรดธรรมดา แต่ราคาของนมเกรดพรีเมี่ยมจะแพงกว่าเกรดธรรมดา ข้อเสียของนมแบบผง คือ เสียเวลาในการเตรียม เพราะต้องต้มน้ำ มาชงนมก่อน ส่วนนมอีกชนิดคือ นมสำหรับลูกสุนัขแบบน้ำ และนมแพะในรูปแบบกระป๋อง สะดวกต่อการนำมาใช้ ข้อเสียคือ เมื่อเปิดแล้วควรเก็บในตู้เย็น และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3-4 วัน 2. วิธีการให้นม แนะนำให้ใช้ขวดนมที่ออกแบบมาสำหรับลูกสุนัขโดยตรง หรืออาจใช้หลอดฉีดยาขนาดเล็กก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ดันปริมาณนมเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ลูกสุนัขสำลักนมลงปอด ทำให้เสียชีวิตได้ ควรป้อนนม 4-5 ครั้งต่อวัน ในลูกสุนัขแรกเกิดควรป้อนทุก 2 ชั่วโมง โดยสังเกตว่าลูกสุนัขท้องกลมนอนหลับสนิทแสดงว่าได้รับนมเพียงพอ แต่ถ้าส่งเสียงร้อง ดิ้นไปมาแสดงว่ายังไม่อิ่ม เมื่อลูกสุนัขอายุได้
ภาวะหัวใจล้มเหลวในสุนัขอายุมาก มักมีสาเหตุมาจากปัญหาของลิ้นหัวใจไมทรัล (mitral valve) ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้าย และห้องล่างซ้าย ความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดการไหลย้อนของเลือด ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เมื่อโรคพัฒนาความรุนแรงมากขึ้นและมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษา สุนัขจะหัวใจวาย และเสียชีวิตในที่สุด โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือ mitral valve insufficiency ส่วนใหญ่มักพบได้ในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Cavalier King Charles Spaniel, Poodle, Shih Tzu, Yorkshire Terrier และ Chihuahua เป็นต้น ดังนั้น เจ้าของที่เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ดังกล่าว ควรพาสุนัขไปตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ ให้บริการดูแลด้านหัวใจแก่สุนัขของท่าน ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการวัดความดันเลือด การถ่ายภาพรังสีช่องอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการอัลตราซาวน์หัวใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายได้ที่ 02-1968244-6 หรือ 02-5814483-4 เครดิตภาพ: dogsnuffle.com, groomers-online.com,
สาเหตุเกิดจากการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปรับตัวระบายความร้อนออกไม่ทัน จะจำแนกโดยอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งโดยปกติอุณหภูมิของร่างกายสุนัขจะประมาณ 101-102.5 องศาฟาเรนไฮต์ ฮีทสโตรก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Non-exertional หรือ classical heat stroke เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนจากภายนอกซึ่งพบได้มากในทางสัตวแพทย์ Exertional heat stroke เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง ถึงแม้ว่าร่างกายจะมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์จากการทำลายจากอุณหภูมิสูงได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองเพื่อชดเชยได้ ทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบต่างๆของร่ายกาย ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร การแข็งตัวของเลือด ไต หัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด ระบบประสาทส่วนกลาง และเมื่ออวัยวะต่างๆล้มเหลว จะทำให้สุนัขเสียชีวิตในที่สุด สถิติสาเหตุจากการซักประวัติ เจ้าของไปซื้อของแล้วทิ้งสุนัขไว้ในรถโดยไม่ติดเครื่องยนต์ เอาสุนัขขึ้นกระบะด้านท้ายเพื่อทำการขนส่ง ขังสัตว์เลี้ยงไว้ในกรงที่โดนแดดตลอดเวลา ให้สุนัขออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะหน้าร้อนในประเทศไทย แต่สุนัขกลุ่มเสี่ยง เช่น สุนัขพันธุ์หน้าสั้น สุนัขอ้วน สุนัขที่มีขนยาว หรือขนหนาแน่น และสุนัขที่มีขนสีดำ อาการ อาการที่พบ ได้แก่
หากสัตว์เลี่ยงของท่านมีอาการผิดปกติ หรือมีภาวะเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ ท่านควรโทรศัพท์ปรึกษากับสัตว์แพทย์ประจำตัว หรือพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที มีอาการอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ มีเลือดออกอย่างรุนแรง หรือเลือดไม่หยุดไหลเองภายใน 5 นาที สำลักอาหาร จนมีอาการหายใจลำบาก หรือไอไม่หยุดร่วมกับมีอาการขาก มีเลือดไหลออกจากช่องเปิดของร่างกาย เช่น จมูก ปาก หรือ รูทวาร เป็นต้น ไอเป็นเลือด หรือฉี่เป็นเลือด ไม่สามารถปัสสาวะ หรืออุจจาระได้ตามปกติ มีอาการปวดเบ่ง หรือเจ็บปวดอย่างชัดเจนขณะปัสสาวะ หรืออุจจาระ มีอุบัติเหตุ หรือมีการบาดเจ็บบริเวณลูกตาของสัตว์เลี้ยง คุณเห็น หรือสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของคุณกินสารพิษ เช่น ช็อคโกแลต ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู ลูกเหม็น เป็นต้น มีอาการชัก (seizure) กระดูกหัก หรือมีอาการเจ็บขา ไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือเดินได้ตามปกติ สังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงของคุณดูกระวนกระวาย หรือมีความเจ็บปวด ภาวะลมแดด (heat stroke) มีอาการอาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง มากกว่า 2 ครั้งใน 24
โรคอ้วนในสุนัขสามารถพบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเจ้าของบางท่านมักมองว่าสุนัขอ้วนน่ารัก หรือรู้สึกใจอ่อนทุกครั้งเมื่อสุนัขของตนเองขออาหารกินจึงไม่สามารถควบคุมอาหารได้ บางท่านมีการให้อาหารของคนซึ่งมีปริมาณไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว หรือผลไม้ เช่น ทุเรียน เป็นต้น โรคอ้วนเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม มีการสะสมไขมันในร่างกายที่มากเกินไป อีกทั้งโรคอ้วนยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย วันนี้เรามี 5 สัญญาณเตือนที่ให้เจ้าของสังเกตว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่ค่ะ 1. คุณสัมผัสซี่โครงของสุนัขของคุณไม่พบใช่หรือไม่ ? การสังเกตจากกระดูกซี่โครงเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะดูว่าสุนัขของคุณอ้วนเกินไปหรือไม่ โดยการสัมผัสที่บริเวณด้านข้างของช่องอก หากมีไขมันหนามากในสุนัขอ้วน คุณจะสัมผัสไม่พบกระดูกซี่โครงนั่นเอง ตำแหน่งกระดูกซี่โครงด้านข้างลำตัว สุนัขอ้วนจะสัมผัสกระดูกซี่โครงไม่ได้ 2. สุนัขของคุณมักมีปัญหาหายใจลำบากหรือไม่ ? หากสุนัขของคุณมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบ เหนื่อยง่าย ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย แสดงว่าสุนัขของคุณอาจมีปัญหาอ้วนเกินไปได้ ซึ่งในระยะยาว นอกจากปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ สุนัขอ้วนเหล่านี้อาจมีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจเกิดหัวใจวายได้ 3. สุนัขของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย หรือท้องผูกบ่อยหรือไม่ ? สุนัขที่เป็นโรคอ้วนจะมีปัญหาเรื่องระบบการย่อยและการขับถ่าย มักจะพบปัญหาท้องผูก เนื่องจากกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่เกิน และมีการเผาผลาญพลังงานน้อย ในการศึกษาพบว่าสุนัขที่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปอาจเนี่ยวนำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบตามมาได้ 4. สุนัขของคุณมีปัญหาในกาiเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ ?