คุณกำลังทำผิดต่อสัตว์เลี้ยงโดยที่คุณไม่รู้ตัวหรือไม่ หากคุณยังไม่ทราบ บทความนี้จะช่วยไขความกระจ่างในสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ หยุด…ใช้ยาคุมกับสุนัขและแมว คุณเป็นคนนึงหรือไม่ ที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวเพศเมีย แต่เลือกที่จะใช้ยาคุมแทนการทำหมัน คุณกำลังคิดผิด การฉีดยาคุมกำเนิดให้สุนัขและแมวทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนองตามมาได้ หากไม่รักษาอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเสียชีวิต หากฉีดยาคุมในช่วงตั้งท้องอาจมีผลให้ลูกในท้องแท้งหรือตั้งท้องนานกว่าปกติ ไม่สามารถคลอดเองได้ เป็นต้น วิธีการคุมกำเนิดที่ดีและถาวร คือ การทำหมัน นอกจากจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่แล้ว ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว อย่าฉีดยาคุมให้สัตว์เลี้ยงเลยนะคะ หยุด….ให้ยาพาราเซตามอลกับน้องแมว แม้ว่าจะพยายามเผยแพร่ข้อมูลไปให้กลุ่มคนรักแมวได้ทราบกันเป็นประจำต่อเนื่อง แต่เชื่อไหมคะว่า ทุกปีก็ยังพบเคสที่เจ้าของเอายาพาราเซตามอลให้แมวป่วยกิน เพราะคิดว่าเป็นการรักษาในเบื้องต้น บางรายหากกินไม่เยอะ และพามารักษาทันก็มีโอกาสหาย แต่ในบางรายที่ได้รับยาไปปริมาณมากก็มีโอกาสเสียชีวิตในทันที พิษของยาพาราเซตามอลต่อแมวจะมีผลต่อตับ และระบบเลือด อาการที่พบ เช่น หน้าบวม เหงือกม่วงคล้ำ อาเจียน หายใจลำบาก เป็นต้น หากพบว่าแมวมีอาการป่วย ไม่สบาย ควรพาไปหาหมอเถอะนะคะ อย่าป้อนยาพารารักษาให้เองเลยค่ะ หยุด….ซื้อยาไปให้สัตว์เลี้ยงกินเอง อาการป่วยของสุนัขและแมวมักเริ่มต้นด้วยอาการซึม เบื่ออาหาร เพราะรู้สึกไม่สบายตัวด้วยสาเหตุใดก็ตาม แต่ เพราะพูดไม่ได้จึงไม่สามารถเล่าอาการป่วยให้เจ้าของฟังได้ เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายท่านมักคิดว่าอาการซึม ไม่กินอาหารของสัตว์นั้นไม่รุนแรง โดยเคยพบว่าปล่อยให้สุนัขไม่กินอาหารมา 1
เห็บคืออะไร เห็บเป็นปรสิตภายนอกที่มี 8 ขา มีลักษณะตัวแบนเมื่อมองจากด้านบน ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 3 มม. แต่อาจขยายขนาดได้ถึง 12 มม.หลังจากที่ได้ดูดเลือดเข้าไปแล้ว ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนว่าไม่ใช่ปรสิตชนิดเดียวกันกับตัวเล็ก ทั้งที่จริงแล้วมันคือปรสิตชนิดเดียวกัน การยึดเกาะของเห็บจะใช้ส่วนปากแทงเข้าไปในผิวหนังของสุนัข และดูดกินเลือดเป็นอาหาร เห็บมีวงจรชีวิตทั้งหมดแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ ไข่ ตัวอ่อน ตัวกลางวัย และตัวเต็มวัย ระยะที่ 1 เห็บจะผสมพันธ์กันบนตัวสุนัข และดูดเลือดอย่างเต็มที่ก่อนที่เห็บตัวเมียจะทิ้งตัวลงจากตัวสุนัขเพื่อไปวางไข่ ซี่งเห็บสามารถวางไข่ได้ถึง 2,500-4,000 ฟอง ระยะเวลาในการฟักตัวจะอยู่ที่ 17-30 วัน หลักจากฟักแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อน ระยะที่ 2 ตัวอ่อนของเห็บจะมี 6 ขา เมื่อเป็นตัวอ่อนจะขึ้นไปเกาะดูดเลือดบนตัวสุนัข 2-7 วัน หลังจากนั้นจะหล่นจากตัวสุนัขเพื่อลอกคราบเป็นตัวกลางวัยต่อไป ระยะเวลาการลอกคราบประมาณ 5 – 23 วัน ระยะที่ 3 ตัวกลางวัยของเห็บจะมี 8 ขา เมื่อเป็นตัวกลางวัยแล้วจะขึ้นไปเกาะดูดเลือดบนตัวสุนัข 4-9
แมวมีนิสัยอิสระ และรักสันโดษ ยิ่งบางตัวไม่ค่อยชอบคลุกคลีอยู่กับคนทำให้ในบางครั้งการสังเกตว่าแมวป่วยจึงเป็นเรื่องยาก ประกอบกับแมวที่ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการให้เราเห็นชัดเจน เจ้าของจึงมักเริ่มเห็นอาการเมื่อแมวป่วยไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงแมวต้องมีการดำเนินการของโรคมากขึ้นจนทำให้อาการป่วยเด่นชัดขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามอาการป่วยปัจจุบันที่เจ้าของมักพาแมวมาพบสัตวแพทย์ด้วยอาการเริ่มแรก คือ ซึม ไม่กินอาหาร อาการไม่กินอาหารนี้ มีสาเหตุได้หลายอย่าง ตั้งแต่การเกิดการอักเสบของเหงือกและช่องปากจนไม่สามารถกินอาหารได้ไปจนถึงการเกิดความผิดปกติในการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งแนวทางในการวินิจฉัยและรักษาแตกต่างกันไป สำหรับน้องแมวพันธุ์ American shorthair อายุ 8 เดือนตัวนี้ได้เข้าพบสัตวแพทย์ด้วยอาการซึมไม่กินอาหาร จากการซักประวัติเพิ่มเติมพบว่า น้องแมวทำวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดหวัดแมว ,โรคลิวคีเมียและเอดส์แมวอย่างครบถ้วน แมวเริ่มไม่ค่อยอยากกินอาหารเม็ด และกินอาหารเปียกเป็นส่วนใหญ่ในหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา และค่อยๆกินปริมาณลดลงตามลำดับก่อนจะมาเริ่มไม่กินอาหารเลย สัตวแพทย์เปิดปากดูพบว่ามีภาวะเหงือกอักเสบที่ฟันกรามด้านบนขวา และเริ่มมีกลิ่นปาก ส่วนผลการตรวจร่างกายอื่นๆปกติดี เบื้องต้นน้องแมวได้รับยาปฏิชีวนะ และยาลดอักเสบ ร่วมกับการล้างทำความสะอาดปากและพ่นเสปรย์ฆ่าเชื้อในปากทุกวัน ผ่านไป 1 สัปดาห์อาการดีขึ้นมากตอนนี้กลับมากินอาหารร่าเริงได้ปกติแล้ว โดยทั่วไปโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในแมว มักพบในแมวพันธุ์แท้มากกว่าแมวขนสั้น(domestic short hair)ทั่วๆไป โรคเป็นได้กับทุกอายุซึ่งส่วนมากอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและแมวแก่ สาเหตุเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือโปรตีนในช่องปากที่มากหรือน้อยเกินไป การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในช่องปากที่มากเกินไป ได้แก่ การตอบสนองต่อโปรตีนในอาหาร, การติดเชื้อไวรัส Calicivirus, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ช่วงนี้ฝนตกหนัก อย่าลืมดูแลสุนัขและแมวของเราให้ดีกันนะคะ… ฝนตกแบบนี้อากาศมักชื้นแฉะ และเป็นปัจจัยที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยได้ง่ายกว่าปกติค่ะ วันนี้เรามารู้จักโรคหลักๆที่พบบ่อยในหน้าฝน รวมถึงภัยร้ายที่มักแอบแฝงมาโดยที่เราไม่ทันคาดคิด เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีให้เจ้าสี่ขาของเรากันค่ะ โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินหายใจหรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นหวัดนั่นเองค่ะ อากาศชื้นๆแบบนี้ ยิ่งถ้าบางตัวชอบไปเล่นน้ำอีก จะเป็นหวัดได้ง่ายนะคะ อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ง่ายจะเริ่มจาก ซึม ไม่กินอาหาร มีน้ำมูก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาและพาน้องๆไปพบคุณหมอทันทีค่ะ ยังไงก็ตามการป้องกันเบื้องต้นที่เราสามารถทำได้คือการลดการสัมผัสกับน้ำ เช่น ปิดประตูห้องน้ำเพื่อไม่ให้นอนแช่น้ำ เป็นต้น รวมถึงการหาเสื้อให้ใส่เพื่อเพิ่มความอบอุ่นในกรณีที่นอนในห้องแอร์ และหมั่นเช็ดตัวน้องๆให้แห้งนะคะ โรคผิวหนัง โรคนี้มาพร้อมกับความอับชื้นค่ะ เป็นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหนี่ยวนำให้เกิดผิวหนังอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่ายนะคะ นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนังได้ค่ะ อาการที่พบบ่อย คือ พบตุ่มหนองใต้ท้อง ขนร่วง คัน เป็นผื่นแดง เป็นต้น ซึ่งมักพบในบริเวณที่เป็นจุดอับชื้น เช่น ง่ามเท้า ขาหนีบ รักแร้ หรือ ตามง่ามหน้าของสุนัขพันธุ์ที่มีรอยพับของผิวหนังมาก การมีอาการดังกล่าวบ่งชี้ถึงการมีความผิดปกติที่ผิวหนังเกิดขึ้น โดยเริ่มแรกเจ้าของอาจเริ่มจากการใช้แชมพูฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอาบน้ำให้น้องๆก่อน ร่วมกับการหมั่นเช็ดทำความสะอาดตามบริเวณจุดอับชื้นตามตัว รวมถึงป้องกันการเกา เลีย แทะ บริเวณที่คัน อาจใช้การใส่ปลอกคอกันเลีย หรือสวมเสื้อให้นะคะ แต่หากไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอนะคะ เนื่องจากโรคผิวหนังบางอย่างอาจไม่ได้มาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวในแมว (feline hypertrophic cardiomyopathy) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยในแมว พบได้ในแมวอายุกลางๆ เพศผู้พบบ่อยมากกว่าเพศเมีย แมวพันธุ์เปอร์เซีย และเมนคูน เป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าพันธุ์อื่น ลักษณะของโรคจะพบการหนาตัวของผนังหัวใจห้องล่าง และหัวใจห้องบนขยายใหญ่ ส่งผลต่อการคลายตัวในการรับเลือดของหัวใจ ทำให้ปริมาณเลือดออกจากร่างกายไปเลี้ยงหัวใจลดลง อาการ แมวมักมาด้วยอาการหายใจลำบากแบบเฉียบพลัน อ้าปากหายใจ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นลม ขาหลังอ่อนแรงจนไปถึงเป็นอัมพาตหากมีการอุดตันของลิ่มเลือด มีน้ำสะสมในช่องว่างของร่างกาย เช่น มีน้ำในช่องอก และช่องท้อง การตรวจวินิจฉัย เมื่อตรวจร่างกายจะพบว่า แมวอาจมีน้ำในช่องอกหรือช่องท้อง มีเสียงหัวใจที่ผิดปกติ การเอกซเรย์ช่องอกจะทำให้เห็นเงาของขนาดของหัวใจที่ผิดปกติไป ร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และยืนยันโรคด้วยการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจจะพบการขยายขนาดของหัวใจห้องบนซ้าย และพบการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย การรักษา เป็นการให้การรักษาทางยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหัวใจ ลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ใกล้เคียงปกติ และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในเคสนี้ น้องไข่ตุ๋น เป็นโรคหัวใจชนิดนี้ มารักษาที่ #โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ สาขา3 ปทุมธานี เจาะระบายน้ำในช่องอกไปแล้ว1ครั้ง ตอนนี้ยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาลค่ะ ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา สุขสันติลาภ (หมอพลอย) โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์
เราเคยรู้จักภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง (Pyometra) กันไปเเล้ว วันนี้มาทำความรู้จักอีกภาวะหนึ่งที่คล้ายคลึงกันดีกว่าครับ คือ ” ภาวะมดลูกขยายใหญ่จากการมีของเหลวสะสมภายใน (Hydrometra/Mucometra) ” เราสามารถพบภาวะนี้ได้ในสุนัขเพศเมียที่ยังไม่ได้ทำหมันเกือบทุกช่วงอายุ แต่มักจะเจอในสุนัขที่มีอายุมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนเพศซ้ำๆ ทุกช่วงวงรอบการเป็นสัดมาเป็นเวลานาน โดยมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเกิดจากผนังมดลูกที่มีการหนาตัวขึ้นร่วมกับมีของเหลวสะสมอยู่ภายในมดลูกจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ แต่ภาวะนี้ยังไม่มีการติดเชื้อและอักเสบเกิดขึ้นภายในมดลูกของสุนัข ของเหลวที่สะสมอยู่ภายในมดลูกจึงมีลักษณะเป็นน้ำขุ่นๆหรือเป็นเมือก ไม่ใช่หนองแบบภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง (Pyometra ) และอาจพบสิ่งคัดหลั่งดังกล่าวออกมาทางช่องคลอดได้ ซึ่งจะไม่มีกลิ่นเหม็นครับ เนื่องจากภาวะดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อและอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย ดังนั้นสุนัขยังดูสุขภาพแข็งแรงดี ร่าเริงปกติ ไม่มีไข้ อาจจะซึมลงบ้างเล็กน้อย แต่ยังคงทานอาหารได้ ไม่แสดงอาการป่วยใดๆชัดเจน เช่น น้องดีดี้ในภาพ แต่อาการที่สังเกตจากภายนอกได้คือท้องกางขยายใหญ่และอาจมีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมาทางช่องคลอด ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบในช่วงระยะหลังการเป็นสัด นอกจากนี้เจ้าของบางท่านอาจไม่แน่ใจว่าสุนัขของตัวเองโดนผสมพันธุ์จากสุนัขตัวผู้มาก่อนหน้านี้หรือไม่ การที่พบสุนัขท้องกางแบบนี้จึงอาจมีความสับสนกับภาวะการตั้งท้องได้ เนื่องจากพบอาการท้องกางขยายใหญ่หลังการเป็นสัดเช่นกัน จึงต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยจากสัตวแพทย์ในการแยกโรคหรือภาวะดังกล่าวออกจากกันครับ แม้ว่าภาวะนี้ยังไม่มีการติดเชื้อและอักเสบเกิดขึ้นที แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อภายในมดลูกจนเกิดเป็นภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง (Pyometra) ตามมา ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการผ่าตัดทำหมัน เเละให้ยาครับ น้องดีดี้ สุนัขพันธุ์มิเนเจอร์ อายุ10ปี มดลูกของน้องดีดี้ที่มีของเหลวสะสมอยู่ภายใน จนมีขนาดใหญ่ (Hydrometra) ลักษณะของมดลูกที่ปกติ ลักษณะของมดลูกที่ขยายใหญ่เนื่องจากอักเสบ เป็นหนอง (Pyometra) ผู้เรียบเรียง น.สพ.
อาการบวมที่เกิดขึ้นในบริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น บริเวณหลัง เต้านม ขา ใต้คาง เป็นต้น อาจเกิดได้จากการบวมอักเสบ ก้อนฝี ถุงน้ำ เนื้องอก หรือ มะเร็ง เป็นต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติเพิ่มเติมถึงระยะเวลาในการเกิด การขยายขนาดของก้อน ก้อนมีการขยายขนาดขึ้น หรือมีขนาดคงที่ มีการโตขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่ สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายโดยการคลำตรวจ ดูความแข็งและเนื้อสัมผัสของก้อน การยึดติดของก้อนว่าอยู่ในชั้นใดของผิวหนัง สามารถกลิ้งได้หรือไม่ และสัตว์มีความเจ็บปวดหรือไม่เมื่อมีการคลำกด นอกจากการคลำแล้ว กรณีที่เป็นถุงน้ำ สามารถวินิจฉัยได้โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวน์ ตรวจดูขนาดของถุงน้ำได้ แต่หากก้อนดังกล่าวเป็นก้อนฝี จำเป็นต้องมีการเจาะระบายหนองจากฝี และทำแผลต่อเนื่อง กรณีนี้ทาโร่มาตรวจที่โรงพยาบาลสัตว์แล้วพบว่า ก้อนดังกล่าวเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกมีลักษณะก้อนแข็ง มีการขยายขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ยึดติดกับกล้ามเนื้อของขาหน้า และใกล้กับเส้นเลือดใหญ่บริเวณขาหน้า คุณหมอจึงแนะนำให้ทาโร่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อตัดเนื้องอกออกและส่งตรวจชิ้นเนื้อดังกล่าววิเคราะห์หาชนิดของเนื้องอกเพื่อวางแผนในการรักษาและพยากรณ์โรคในอนาคต หากเจ้าของพบว่าสัตว์เลี้ยงมีก้อนบวมโตขึ้นมาบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆของร่างกาย อย่าได้นิ่งนอนใจ ปล่อยทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่ค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดมีความยากขึ้นแล้ว ถ้าในกรณีเป็นมะเร็ง การทิ้งไว้นานเกินไปมะเร็งอาจมีการลุกลามกระจายไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะปอด และต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงได้ค่ะ การคลำตรวจผิวหนังของสัตว์เลี้ยงของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถสังเกตเจอก้อนที่ผิดปกติที่ผิวหนังได้ตั้งแต่ในระยะแรกที่ก้อนยังมีขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ทุกสาขา หรือโทร ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่เลี้ยงแมวทุกท่านจริงๆค่ะ แม้ว่าน้องแมวจะเป็นสัตว์ที่เลือกกินมากกว่าสุนัข แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสกินสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะเส้นด้าย หรือไหมพรมซึ่งเป็นสิ่งที่น้องแมวชื่นชอบเป็นพิเศษ หากเจ้าของบ้านลืมทิ้งไว้อาจเกิดกรณีเช่นเคสนี้ค่ะ น้องฮาเบิ้ล มาหาคุณหมอที่ โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์สาขา3ปทุมธานี ด้วยอาการอาเจียน และไม่กินอาหารมา 2 วัน คุณหมอตรวจร่างกายแล้วพบว่าฮาเบิ้ลมีอาการเจ็บเวลาคลำบริเวณลำคอ จึงทำการเอกซเรย์เพิ่มเติมพบว่า น้องฮาเบิ้ลกินเข็มเข้าไป กรณีนี้เข็มติดอยู่แค่บริเวณลำคอยังไม่หลุดลงไปในทางเดินอาหารส่วนล่าง คุณหมอจึงพิจารณาวางยาซึมฮาเบิ้ลเพื่ออ้าปากและคีบเข็มออกมาได้ค่ะ หลังจากคีบเข็มออกมาแล้ว คงจะหายเจ็บ ฮาเบิ้ลเลยกินอาหารโชว์คุณหมอใหญ่เลยค่ะ จากเคสนี้ ขอให้เป็นเคสตัวอย่างสำหรับผู้ที่เลี้ยงแมวเลยนะคะ เข็มที่ฮาเบิ้ลกินเข้าไปมีด้ายติดอยู่ จึงสันนิษฐานว่าฮาเบิ้ลคงจะเล่นเส้นด้ายที่ปลายเข็มและเผลอกินเข้าไปค่ะ ยังดีที่คุณแม่เอะใจสังเกตอาการผิดปกติและรีบพาฮาเบิ้ลมาหาคุณหมอเพื่อรักษาได้ทัน แต่ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับน้องแมวตัวไหนอีกเลยค่ะ…แค่คิดก็เจ็บมากแล้ววว ภาพแสดงผลเอกซเรย์ที่เห็นเข็มติดอยู่บริเวณหลอดอาหารส่วนต้น และตัวอย่างเข็มที่คีบออกมาได้ ผู้เรียบเรียง สพ.ญ. นัยนา สุขสันติลาภ (หมอพลอย)
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียระหว่าง Non surgicalsterilization หรือการทำหมันแบบไม่ผ่าตัด ด้วยการฉีด zinc gluconate เทียบกับการผ่าตัดทำหมันโดยการผ่าอัณฑะออกแบบปกติ (orchidectomy) การทำหมันแบบไม่ผ่าตัดด้วยการฉีด zinc gluconate คือ การฉีดสารซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองรุนแรง (zinc gluconate) ทำให้เกิดการอักเสบของอัณฑะ จนสุดท้ายอัณฑะฝ่อลง ไม่สามารถผลิตสเปริ์มออกมาอีก ข้อดี – ไม่ต้องวางยา – ไม่ต้องผ่าตัด – ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะเท่ากับการผ่าตัด – ต้นทุนต่ำกว่า – ฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัด – เหมาะแก่การใช้ในการควบคุมประชากรสุนัขจำนวนมากๆ ในพื้นที่ห่างไกล ข้อเสีย – ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นการทรมาณสัตว์หรือไม่ เนื่องจากสารนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของอัณฑะอย่างรุนแรง และทำ ให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นในอัณฑะ จนอัณฑะฝ่อลงในที่สุด – ไม่สามารถกำจัดฮอร์โมนเพศได้ หมด 100% ทำให้อาจยังมีพฤติกรรมเช่น การผสมพันธุ์ ความก้าวร้าว หลงเหลืออยู่ – สุนัขยังไม่เป็นหมันทันทีต้องรออีกประมาณ 1-2 เดือนหลังฉีด – สุนัขอาจไม่เป็นหมัน100% – หากเกิดปัญหาแทรกซ้อนอาจรุนแรงกว่าการผ่าตัด (เกิดเนื้อตายที่ถุงอัณฑะ) – ต้องใช้สัตวแพทย์ที่มีความชำนาญ(ชาวบ้านทำกันเองไม่ได้) เนื่องจากหากฉีดไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดแผลเนื้อตายได้ – อาจต้องวางยาซึมเผื่อทำการฉีด (ถ้าดิ้น อาจจะฉีดพลาดจนเกิดแผลเนื้อตายได้) ไม่สามารถตัดปัญหาเรื่องมะเร็งอัณฑะได้เหมือนการทำหมันปกติ อ้างอิง http://www.icam-coalition.org/downloads/Non-surgical%20methods%20for%20controlling%20the%20reproduction%20of%20dogs%20and%20cats.pdf https://www.avma.org/News/Journals/Collections/Documents/ajvr_69_1_140.pdf http://vetmed.illinois.edu/zeuterin-the-non-surgical-alternative-to-neutering/ www.icam-coalition.org icam-coalition.org ผู้เรียบเรียง หมอแวน