ภาวะหัวใจล้มเหลวในสุนัขอายุมาก มักมีสาเหตุมาจากปัญหาของลิ้นหัวใจไมทรัล (mitral valve) ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้าย และห้องล่างซ้าย ความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดการไหลย้อนของเลือด ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เมื่อโรคพัฒนาความรุนแรงมากขึ้นและมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษา สุนัขจะหัวใจวาย และเสียชีวิตในที่สุด โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือ mitral valve insufficiency ส่วนใหญ่มักพบได้ในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Cavalier King Charles Spaniel, Poodle, Shih Tzu, Yorkshire Terrier และ Chihuahua เป็นต้น ดังนั้น เจ้าของที่เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ดังกล่าว ควรพาสุนัขไปตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ ให้บริการดูแลด้านหัวใจแก่สุนัขของท่าน ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการวัดความดันเลือด การถ่ายภาพรังสีช่องอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการอัลตราซาวน์หัวใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายได้ที่ 02-1968244-6 หรือ 02-5814483-4 เครดิตภาพ: dogsnuffle.com, groomers-online.com,
สาเหตุเกิดจากการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปรับตัวระบายความร้อนออกไม่ทัน จะจำแนกโดยอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งโดยปกติอุณหภูมิของร่างกายสุนัขจะประมาณ 101-102.5 องศาฟาเรนไฮต์ ฮีทสโตรก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Non-exertional หรือ classical heat stroke เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนจากภายนอกซึ่งพบได้มากในทางสัตวแพทย์ Exertional heat stroke เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง ถึงแม้ว่าร่างกายจะมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์จากการทำลายจากอุณหภูมิสูงได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองเพื่อชดเชยได้ ทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบต่างๆของร่ายกาย ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร การแข็งตัวของเลือด ไต หัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด ระบบประสาทส่วนกลาง และเมื่ออวัยวะต่างๆล้มเหลว จะทำให้สุนัขเสียชีวิตในที่สุด สถิติสาเหตุจากการซักประวัติ เจ้าของไปซื้อของแล้วทิ้งสุนัขไว้ในรถโดยไม่ติดเครื่องยนต์ เอาสุนัขขึ้นกระบะด้านท้ายเพื่อทำการขนส่ง ขังสัตว์เลี้ยงไว้ในกรงที่โดนแดดตลอดเวลา ให้สุนัขออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะหน้าร้อนในประเทศไทย แต่สุนัขกลุ่มเสี่ยง เช่น สุนัขพันธุ์หน้าสั้น สุนัขอ้วน สุนัขที่มีขนยาว หรือขนหนาแน่น และสุนัขที่มีขนสีดำ อาการ อาการที่พบ ได้แก่
หากสัตว์เลี่ยงของท่านมีอาการผิดปกติ หรือมีภาวะเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ ท่านควรโทรศัพท์ปรึกษากับสัตว์แพทย์ประจำตัว หรือพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที มีอาการอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ มีเลือดออกอย่างรุนแรง หรือเลือดไม่หยุดไหลเองภายใน 5 นาที สำลักอาหาร จนมีอาการหายใจลำบาก หรือไอไม่หยุดร่วมกับมีอาการขาก มีเลือดไหลออกจากช่องเปิดของร่างกาย เช่น จมูก ปาก หรือ รูทวาร เป็นต้น ไอเป็นเลือด หรือฉี่เป็นเลือด ไม่สามารถปัสสาวะ หรืออุจจาระได้ตามปกติ มีอาการปวดเบ่ง หรือเจ็บปวดอย่างชัดเจนขณะปัสสาวะ หรืออุจจาระ มีอุบัติเหตุ หรือมีการบาดเจ็บบริเวณลูกตาของสัตว์เลี้ยง คุณเห็น หรือสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของคุณกินสารพิษ เช่น ช็อคโกแลต ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู ลูกเหม็น เป็นต้น มีอาการชัก (seizure) กระดูกหัก หรือมีอาการเจ็บขา ไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือเดินได้ตามปกติ สังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงของคุณดูกระวนกระวาย หรือมีความเจ็บปวด ภาวะลมแดด (heat stroke) มีอาการอาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง มากกว่า 2 ครั้งใน 24
โรคอ้วนในสุนัขสามารถพบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเจ้าของบางท่านมักมองว่าสุนัขอ้วนน่ารัก หรือรู้สึกใจอ่อนทุกครั้งเมื่อสุนัขของตนเองขออาหารกินจึงไม่สามารถควบคุมอาหารได้ บางท่านมีการให้อาหารของคนซึ่งมีปริมาณไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว หรือผลไม้ เช่น ทุเรียน เป็นต้น โรคอ้วนเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม มีการสะสมไขมันในร่างกายที่มากเกินไป อีกทั้งโรคอ้วนยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย วันนี้เรามี 5 สัญญาณเตือนที่ให้เจ้าของสังเกตว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่ค่ะ 1. คุณสัมผัสซี่โครงของสุนัขของคุณไม่พบใช่หรือไม่ ? การสังเกตจากกระดูกซี่โครงเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะดูว่าสุนัขของคุณอ้วนเกินไปหรือไม่ โดยการสัมผัสที่บริเวณด้านข้างของช่องอก หากมีไขมันหนามากในสุนัขอ้วน คุณจะสัมผัสไม่พบกระดูกซี่โครงนั่นเอง ตำแหน่งกระดูกซี่โครงด้านข้างลำตัว สุนัขอ้วนจะสัมผัสกระดูกซี่โครงไม่ได้ 2. สุนัขของคุณมักมีปัญหาหายใจลำบากหรือไม่ ? หากสุนัขของคุณมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบ เหนื่อยง่าย ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย แสดงว่าสุนัขของคุณอาจมีปัญหาอ้วนเกินไปได้ ซึ่งในระยะยาว นอกจากปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ สุนัขอ้วนเหล่านี้อาจมีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจเกิดหัวใจวายได้ 3. สุนัขของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย หรือท้องผูกบ่อยหรือไม่ ? สุนัขที่เป็นโรคอ้วนจะมีปัญหาเรื่องระบบการย่อยและการขับถ่าย มักจะพบปัญหาท้องผูก เนื่องจากกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่เกิน และมีการเผาผลาญพลังงานน้อย ในการศึกษาพบว่าสุนัขที่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปอาจเนี่ยวนำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบตามมาได้ 4. สุนัขของคุณมีปัญหาในกาiเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ ?
คุณกำลังทำผิดต่อสัตว์เลี้ยงโดยที่คุณไม่รู้ตัวหรือไม่ หากคุณยังไม่ทราบ บทความนี้จะช่วยไขความกระจ่างในสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ หยุด…ใช้ยาคุมกับสุนัขและแมว คุณเป็นคนนึงหรือไม่ ที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวเพศเมีย แต่เลือกที่จะใช้ยาคุมแทนการทำหมัน คุณกำลังคิดผิด การฉีดยาคุมกำเนิดให้สุนัขและแมวทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนองตามมาได้ หากไม่รักษาอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเสียชีวิต หากฉีดยาคุมในช่วงตั้งท้องอาจมีผลให้ลูกในท้องแท้งหรือตั้งท้องนานกว่าปกติ ไม่สามารถคลอดเองได้ เป็นต้น วิธีการคุมกำเนิดที่ดีและถาวร คือ การทำหมัน นอกจากจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่แล้ว ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว อย่าฉีดยาคุมให้สัตว์เลี้ยงเลยนะคะ หยุด….ให้ยาพาราเซตามอลกับน้องแมว แม้ว่าจะพยายามเผยแพร่ข้อมูลไปให้กลุ่มคนรักแมวได้ทราบกันเป็นประจำต่อเนื่อง แต่เชื่อไหมคะว่า ทุกปีก็ยังพบเคสที่เจ้าของเอายาพาราเซตามอลให้แมวป่วยกิน เพราะคิดว่าเป็นการรักษาในเบื้องต้น บางรายหากกินไม่เยอะ และพามารักษาทันก็มีโอกาสหาย แต่ในบางรายที่ได้รับยาไปปริมาณมากก็มีโอกาสเสียชีวิตในทันที พิษของยาพาราเซตามอลต่อแมวจะมีผลต่อตับ และระบบเลือด อาการที่พบ เช่น หน้าบวม เหงือกม่วงคล้ำ อาเจียน หายใจลำบาก เป็นต้น หากพบว่าแมวมีอาการป่วย ไม่สบาย ควรพาไปหาหมอเถอะนะคะ อย่าป้อนยาพารารักษาให้เองเลยค่ะ หยุด….ซื้อยาไปให้สัตว์เลี้ยงกินเอง อาการป่วยของสุนัขและแมวมักเริ่มต้นด้วยอาการซึม เบื่ออาหาร เพราะรู้สึกไม่สบายตัวด้วยสาเหตุใดก็ตาม แต่ เพราะพูดไม่ได้จึงไม่สามารถเล่าอาการป่วยให้เจ้าของฟังได้ เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายท่านมักคิดว่าอาการซึม ไม่กินอาหารของสัตว์นั้นไม่รุนแรง โดยเคยพบว่าปล่อยให้สุนัขไม่กินอาหารมา 1
เห็บคืออะไร เห็บเป็นปรสิตภายนอกที่มี 8 ขา มีลักษณะตัวแบนเมื่อมองจากด้านบน ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 3 มม. แต่อาจขยายขนาดได้ถึง 12 มม.หลังจากที่ได้ดูดเลือดเข้าไปแล้ว ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนว่าไม่ใช่ปรสิตชนิดเดียวกันกับตัวเล็ก ทั้งที่จริงแล้วมันคือปรสิตชนิดเดียวกัน การยึดเกาะของเห็บจะใช้ส่วนปากแทงเข้าไปในผิวหนังของสุนัข และดูดกินเลือดเป็นอาหาร เห็บมีวงจรชีวิตทั้งหมดแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ ไข่ ตัวอ่อน ตัวกลางวัย และตัวเต็มวัย ระยะที่ 1 เห็บจะผสมพันธ์กันบนตัวสุนัข และดูดเลือดอย่างเต็มที่ก่อนที่เห็บตัวเมียจะทิ้งตัวลงจากตัวสุนัขเพื่อไปวางไข่ ซี่งเห็บสามารถวางไข่ได้ถึง 2,500-4,000 ฟอง ระยะเวลาในการฟักตัวจะอยู่ที่ 17-30 วัน หลักจากฟักแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อน ระยะที่ 2 ตัวอ่อนของเห็บจะมี 6 ขา เมื่อเป็นตัวอ่อนจะขึ้นไปเกาะดูดเลือดบนตัวสุนัข 2-7 วัน หลังจากนั้นจะหล่นจากตัวสุนัขเพื่อลอกคราบเป็นตัวกลางวัยต่อไป ระยะเวลาการลอกคราบประมาณ 5 – 23 วัน ระยะที่ 3 ตัวกลางวัยของเห็บจะมี 8 ขา เมื่อเป็นตัวกลางวัยแล้วจะขึ้นไปเกาะดูดเลือดบนตัวสุนัข 4-9
แมวมีนิสัยอิสระ และรักสันโดษ ยิ่งบางตัวไม่ค่อยชอบคลุกคลีอยู่กับคนทำให้ในบางครั้งการสังเกตว่าแมวป่วยจึงเป็นเรื่องยาก ประกอบกับแมวที่ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการให้เราเห็นชัดเจน เจ้าของจึงมักเริ่มเห็นอาการเมื่อแมวป่วยไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงแมวต้องมีการดำเนินการของโรคมากขึ้นจนทำให้อาการป่วยเด่นชัดขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามอาการป่วยปัจจุบันที่เจ้าของมักพาแมวมาพบสัตวแพทย์ด้วยอาการเริ่มแรก คือ ซึม ไม่กินอาหาร อาการไม่กินอาหารนี้ มีสาเหตุได้หลายอย่าง ตั้งแต่การเกิดการอักเสบของเหงือกและช่องปากจนไม่สามารถกินอาหารได้ไปจนถึงการเกิดความผิดปกติในการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งแนวทางในการวินิจฉัยและรักษาแตกต่างกันไป สำหรับน้องแมวพันธุ์ American shorthair อายุ 8 เดือนตัวนี้ได้เข้าพบสัตวแพทย์ด้วยอาการซึมไม่กินอาหาร จากการซักประวัติเพิ่มเติมพบว่า น้องแมวทำวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดหวัดแมว ,โรคลิวคีเมียและเอดส์แมวอย่างครบถ้วน แมวเริ่มไม่ค่อยอยากกินอาหารเม็ด และกินอาหารเปียกเป็นส่วนใหญ่ในหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา และค่อยๆกินปริมาณลดลงตามลำดับก่อนจะมาเริ่มไม่กินอาหารเลย สัตวแพทย์เปิดปากดูพบว่ามีภาวะเหงือกอักเสบที่ฟันกรามด้านบนขวา และเริ่มมีกลิ่นปาก ส่วนผลการตรวจร่างกายอื่นๆปกติดี เบื้องต้นน้องแมวได้รับยาปฏิชีวนะ และยาลดอักเสบ ร่วมกับการล้างทำความสะอาดปากและพ่นเสปรย์ฆ่าเชื้อในปากทุกวัน ผ่านไป 1 สัปดาห์อาการดีขึ้นมากตอนนี้กลับมากินอาหารร่าเริงได้ปกติแล้ว โดยทั่วไปโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในแมว มักพบในแมวพันธุ์แท้มากกว่าแมวขนสั้น(domestic short hair)ทั่วๆไป โรคเป็นได้กับทุกอายุซึ่งส่วนมากอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและแมวแก่ สาเหตุเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือโปรตีนในช่องปากที่มากหรือน้อยเกินไป การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในช่องปากที่มากเกินไป ได้แก่ การตอบสนองต่อโปรตีนในอาหาร, การติดเชื้อไวรัส Calicivirus, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ช่วงนี้ฝนตกหนัก อย่าลืมดูแลสุนัขและแมวของเราให้ดีกันนะคะ… ฝนตกแบบนี้อากาศมักชื้นแฉะ และเป็นปัจจัยที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยได้ง่ายกว่าปกติค่ะ วันนี้เรามารู้จักโรคหลักๆที่พบบ่อยในหน้าฝน รวมถึงภัยร้ายที่มักแอบแฝงมาโดยที่เราไม่ทันคาดคิด เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่ดีให้เจ้าสี่ขาของเรากันค่ะ โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินหายใจหรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นหวัดนั่นเองค่ะ อากาศชื้นๆแบบนี้ ยิ่งถ้าบางตัวชอบไปเล่นน้ำอีก จะเป็นหวัดได้ง่ายนะคะ อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ง่ายจะเริ่มจาก ซึม ไม่กินอาหาร มีน้ำมูก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาและพาน้องๆไปพบคุณหมอทันทีค่ะ ยังไงก็ตามการป้องกันเบื้องต้นที่เราสามารถทำได้คือการลดการสัมผัสกับน้ำ เช่น ปิดประตูห้องน้ำเพื่อไม่ให้นอนแช่น้ำ เป็นต้น รวมถึงการหาเสื้อให้ใส่เพื่อเพิ่มความอบอุ่นในกรณีที่นอนในห้องแอร์ และหมั่นเช็ดตัวน้องๆให้แห้งนะคะ โรคผิวหนัง โรคนี้มาพร้อมกับความอับชื้นค่ะ เป็นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหนี่ยวนำให้เกิดผิวหนังอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่ายนะคะ นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนังได้ค่ะ อาการที่พบบ่อย คือ พบตุ่มหนองใต้ท้อง ขนร่วง คัน เป็นผื่นแดง เป็นต้น ซึ่งมักพบในบริเวณที่เป็นจุดอับชื้น เช่น ง่ามเท้า ขาหนีบ รักแร้ หรือ ตามง่ามหน้าของสุนัขพันธุ์ที่มีรอยพับของผิวหนังมาก การมีอาการดังกล่าวบ่งชี้ถึงการมีความผิดปกติที่ผิวหนังเกิดขึ้น โดยเริ่มแรกเจ้าของอาจเริ่มจากการใช้แชมพูฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอาบน้ำให้น้องๆก่อน ร่วมกับการหมั่นเช็ดทำความสะอาดตามบริเวณจุดอับชื้นตามตัว รวมถึงป้องกันการเกา เลีย แทะ บริเวณที่คัน อาจใช้การใส่ปลอกคอกันเลีย หรือสวมเสื้อให้นะคะ แต่หากไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอนะคะ เนื่องจากโรคผิวหนังบางอย่างอาจไม่ได้มาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว