มีหลายครั้งที่เจ้าของสังเกตเห็นก้อนผิดปกติที่ผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะสังเกตเห็นตั้งแต่ก้อนมีขนาดเล็กๆ หรือสังเกตเห็นเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่มากแล้วโดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์ขนยาว หากไม่ได้ลูบคลำตัวสุนัขบ่อยๆทุกวัน เจ้าของบางท่านก็อาจไม่ทราบได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนมีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่คำถามที่หมอพบบ่อยคงหนีไม่พ้น “ก้อนนี้เป็นมะเร็งไหมคะ?” “แล้วจะอันตรายหรือเปล่า ต้องรักษายังไง?” วันนี้เรามีคำตอบค่ะ มะเร็งเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกตัว โดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมาก โดยในปัจจุบันพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น อาจเนื่องจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีการการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงเปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัว ทำให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น เช่นเดียวกับในคน หากมีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกก่อนที่มะเร็งจะเกิดการกระจายไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่าก้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นทุกครั้งจะเป็นมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นก้อนฝี หรือก้อนเนื้อธรรมดาก็ได้ อาการที่เจ้าของสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ การสังเกตพบก้อนผิดปกติที่ผิวหนังภายนอกร่างกาย โดยก้อนดังกล่าวมีการโตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีการกระจายไปยังตำแหน่งอื่นๆ เป็นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย มีเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งออกมาอยู่ตลอด อาการอื่นๆที่ไม่จำเพาะ เช่น มีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหาร เซื่องซึมลง ไม่ออกกำลังหรือออกกำลังได้ไม่เท่าเดิม หายใจลำบาก ปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก เป็นต้น มะเร็งที่พบได้ในสุนัขเพศผู้ที่เป็นทองแดง (ลูกอัณฑะไม่อยู่ในถุงอัณฑะครบทั้ง 2 ข้าง แต่ยู่ในช่องท้อง) เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ลูกอัณฑะที่อยู่ในช่องท้องอาจมีขนาดโตขึ้นและกลายเป็นมะเร็งได้ ในสุนัขเพศเมียมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก เป็นต้น ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น ร๊อตไวเลอร์ โดเบอร์แมน และเยอรมัน
“สุนัขโดนกัด” เป็นการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาลสัตว์ โดยเฉพาะเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงสุนัขแบบปล่อย มีโอกาสออกไปนอกบ้าน และต่อสู้กับสุนัขตัวอื่น หรือแม้แต่การพาสุนัขออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกาย ก็อาจมีสุนัขจรจัดเข้ามากัดสุนัขของคุณโดยที่ไม่ทันตั้งตัว แผลที่เกิดจากการโดนกัดนั้นมีความรุนแรงตั้งแต่เป็นเพียงแผลถลอกเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นเป็นแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดหรือเส้นประสาท โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่กัดสุนัขพันธุ์เล็ก เขี้ยวที่มีขนาดใหญ่และแรงกัดที่มากกว่า อาจทำให้สุนัขพันธุ์เล็กได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือบางครั้งหากอวัยวะสำคัญได้รับความเสียหาย อาจทำให้เจ้าตัวน้อยเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ แผลโดนกัดส่วนใหญ่ ถือเป็นแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจานวนมากที่อยู่ในน้ำลาย และช่องปากของสุนัขที่กัด บางครั้งรูเขี้ยวเล็กๆที่ปากแผลปิดแล้ว แต่ภายในอาจเกิดเป็นก้อนฝีขึ้นมาภายหลังได้ โดยส่วนใหญ่หากตำแหน่งที่โดนกัดตรงกับตำแหน่งของเส้นเลือด จะทำให้สุนัขเสียเลือดเป็นปริมาณมากได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ เจ้าของควรทำการห้ามเลือดในเบื้องต้นก่อนรีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลโดยทันที ไม่ควรปล่อยแผลโดนกัดทิ้งไว้หลายวันแล้วค่อยพาสุนัขมาทำการรักษา เนื่องจากแผลอาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรง และหากติดเชื้อเข้ากระแสเลือดแล้ว อาจทำให้สุนัขเสียชีวิตได้ การวินิจฉัย สัตวแพทย์จะประเมินอาการสุนัขในเบื้องต้น และตรวจร่างกายโดยละเอียดก่อน เนื่องจากหากมีภาวะฉุกเฉิน หรือมีความเสี่ยงที่อวัยวะภายในที่สำคัญได้รับความเสียหายจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนก่อน เช่น ภาวะกระบังลมฉีกขาด ช่องอกทะลุ หลอดลมขาด กระเพาะปัสสาวะแตก หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือน เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยความเสียหายของแผลที่โดนกัด ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย หรือการอัลตราซาวน์ เป็นต้น การรักษา สัตวแพทย์จะประเมินการรักษา หลังจากที่แก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆแล้ว ในส่วนของแผลโดนกัดจะประเมินตามความรุนแรงและลักษณะของแผลว่าจำเป็นต้องผ่าตัดเย็บแก้ไข หรือรักษาโดยการล้างทำความสะอาดแผลแบบเปิด
ภาวะโลหิตจาง คืออะไร ภาวะโลหิตจาง คือคำที่ใช้เรียกภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ โดยโลหิตจางไม่ใช่โรค แต่เป็นผลที่เกิดตามมาจากโรคบางโรค หรือจากสาเหตุอื่นๆ ฮีโมโกลบินทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ดังนั้นสัตว์ที่มีภาวะโลหิตจางจะทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจนตามมา สาเหตุของโลหิตจาง ภาวะโลหิตจางสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งตามกลไกการเกิดได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้ การสูญเสียเลือด เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บที่ทำให้เส้นเลือดเสียหาย หรืออวัยวะภายในเสียหาย การติดปรสิตภายนอกปริมาณมาก เช่น เห็บ หมัด และพยาธิปากขอ โรคมะเร็ง โรคที่ผลทำให้กลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไป มีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด เม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น โดยโรคกลุ่มนี้มักมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งทำให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดง โรคพยาธิเม็ดเลือด สารเคมี หรือสารพิษ มะเร็งบางชนิด การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ซึ่งเป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคไตวายเรื้อรัง ทำให้ขาดปัจจัยในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง โรคติดเชื้อบางโรค เช่น โรคลำไส้อักเสบในสุนัข ซึ่งมีผลกดการทำงานของไขกระดูก ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 เป็นต้น
“แมวป็นเอดส์ได้ด้วยหรอคะคุณหมอ?” “โรคเอดส์แมวเหมือนโรคเอดส์ในคนไหมคะ? แล้วจะติดคนไหมคะ?” “เป็นแล้วรักษาหายไหมคะ?” หลากหลายคำถามสำหรับคนรักแมว และทาสแมวทุกคนที่สงสัยในเรื่องของโรคเอดส์แมว ซึ่งเป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรงในแมว ทำให้น้องแมวของคุณเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ โรคไวรัสเอดส์แมว หรือ Feline immunodeficiency virus มีชื่อเรียกสั้นๆคุ้นหูว่า FIV สำหรับคนที่เลี้ยงสุนัข หรือคนที่เพิ่งเริ่มเลี้ยงแมวอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับโรคนี้เท่าใดนัก แต่สำหรับคนรักแมวแล้ว โรคนี้คงจะเป็นโรคที่รู้จักกันดีเพราะเป็นโรคที่น้องแมวสามารถติดต่อกันได้ง่าย และมีอันตรายที่น่ากลัว หากบ้านไหนที่เลี้ยงแมวหลายตัวรวมกันแล้วพบว่ามีตัวใดตัวหนึ่งตรวจว่าเป็นโรคเอดส์แมวแล้ว ตัวที่เหลือก็มีโอกาสที่จะติดโรคได้เช่นเดียวกัน การติดต่อ โรคนี้สามารถติดต่อได้ผ่านทางแม่แมวสู่ลูกแมว โดยผ่านรกและน้ำนม ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าบางบ้านที่เลี้ยงแมวในบ้านตลอดเวลา ไม่เคยปล่อยออกนอกบ้าน แต่ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคเอดส์แมวได้หากมีการติดต่อผ่านทางแม่ที่เป็นโรคตั้งแต่แรกเกิด นอกจากนี้ยังพบว่าโรคนี้มักพบในแมวเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เนื่องจากการติดต่อผ่านทางน้ำลาย จากบาดแผลกัดกัน การต่อสู้ซึ่งพบในแมวเพศผู้ที่เลี้ยงปล่อยมีโอกาสออกไปเจอแมวอื่นนอกบ้าน อาการ อาการของโรคเอดส์แมวนั้นไม่จำเพาะ ดังนั้นแมวที่สุขภาพดี แข็งแรงของคุณอาจเป็นโรคนี้อยู่ก็ได้แต่อยู่ในระยะที่ไม่แสดงอาการ แมวบางตัวอาจแสดงอาการแค่เป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีช่องปากและเหงือกอักเสบ หรือมีอาการของรับบทางเดินหายใจ ต่อมน้ำเหลืองเกิดการขยายใหญ่ ในระยะสุดท้าย แมวอาจแสดงอาการท้องเสียเรื้อรัง ซูบผอม และเสียชีวิตในที่สุด การวินิจฉัย การวินิจฉัยโรค สัตวแพทย์จำเป็นต้องซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยละเอียด ร่วมกับการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีชุดตรวจสำเร็จรูปสามารถทราบผลได้ทันที แมวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสงสัยในการติดโรคเอดส์แมวและควรตรวจด้วยชุดตรวจโรค
โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถเกิดได้บ่อยในสุนัข โดยแบ่งออกเป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดและเป็นตามมาทีหลังเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital heart diseases) เช่น การคงอยู่ของหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจและเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ ในขณะที่เป็นตัวอ่อน (patent ductus arteriosus) ความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องซ้ายและขวา (septal defect) ลิ้นหัวใจตีบ (vascular stenosis) เป็นต้น โรคหัวใจที่เกิดตามมาทีหลัง (acquired heart disease) โรคหัวใจในกลุ่มนี้สามารถเจอได้บ่อยในสุนัขโดยเฉพาะ เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Shi Tzu เป็นต้น โรคหัวใจโตแบบขยายใหญ่ออกด้านนอก (dilated cardiomyopathy) โรคนี้มักเจอในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น cocker spaniels, Dalmatians, Doberman Pinschers, Great Danes, Golden Retrivers เป็นต้น อาการ อาการของโรคหัวใจนั้นบ่งบอกได้ยาก เพราะมักคล้ายคลึงกับความผิดปกติของโรคอื่นๆ แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการเหล่านี้ นั่นอาจแสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีความผิดปกติของหัวใจ อาการระยะเริ่มแรกของโรคหัวใจอาจไม่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ถ้าสัตว์เลี้ยงมีอาการมากกว่า
พยาธิหนอนหัวใจ หรือ “HEARTWORM” เป็นพยาธิที่อยู่ในกระแสเลือด และทราบหรือไม่ค่ะว่ามัจจุราชหรือพาหะของโรคนี้นั้นอยู่ใกล้ตัวเราเหลือเกิน ไม่ใช่อะไรอื่นไกลหรอก ก็เจ้ายุงร้ายที่คุณเพิ่งปัดหรือเพิ่งตบไปเมื่อสักครู่นี้นั่นแหละค่ะ พยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้โดยผ่านยุงที่ไปกัดสุนัขที่มีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในกระแสเลือด หลังจากนั้นพยาธิตัวอ่อนนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนเจริญเป็นตัวเต็มวัย และไปนอนตัวอ้วนกลมอยู่ในหัวใจห้องล่างด้านขวาและเส้นเลือดใหญ่ที่จะส่งเลือดไปฟอกที่ปอดค่ะ จากนั้นพยาธิตัวเต็มวัยก็จะสืบพันธุ์และออกลูกหลานมามากมายอยู่ในกระแสเลือดของสุนัข ดังแผนภาพด้านล่าง แผนภาพแสดงวงจรชีวิตพยาธิหนอนหัวใจ ความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของพยาธิหนอนหัวใจที่อาศัยอยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดดำใหญ่ของสุนัขค่ะ โดยอาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจอาจพบตั้งแต่ในระยะไม่แสดงอาการจนถึงขั้นระยะหัวใจล้มเหลว สำหรับอาการที่เจ้าของสุนัขสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น การไอแห้งๆ, เหนื่อยง่าย, เป็นลม และท้องกางขยายใหญ่ เนื่องจากมีน้ำสะสมอยู่ในช่องท้อง (ท้องมาน)ค่ะ การวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยโรคที่นิยม ได้แก่ การใช้ชุดตรวจแอนติเจนต่อพยาธิหนอนหัวใจในกระแสเลือดค่ะ หรือการเจาะเลือดมาตรวจหาพยาธิตัวอ่อนในกระแสเลือด ชุดตรวจแอนติเจนต่อพยาธิหนอนหัวใจ การรักษา สำหรับการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจนั้นสามารถทำได้ทั้งการรักษาทางยาและ/หรือรวมกับวิธีทางศัลยกรรมค่ะ การรักษาทางยาสามารถทำได้โดยการฉีดยาฆ่าพยาธิตัวแก่ที่อาศัยอยู่ในหัวใจและหลอดเลือดของสุนัข วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันบ่อยครั้งและสามารถทำได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การประเมินสภาพสุนัขก่อนการเข้ารับการรักษารวมกับการดูแลภายหลังการรักษาถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆได้ แต่ในรายที่เป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจรุนแรงอาจทำการรักษาทางศัลยกรรมโดยการผ่าตัดนำตัวพยาธิหนอนหัวใจออกจากเส้นเลือดดำใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามจากสภาวะสุขภาพของสุนัขป่วยในระยะรุนแรงรวมกับการผ่าตัดที่ต้องการความชำนาญ จึงมักไม่พบเห็นการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจด้วยวิธีนี้บ่อยครั้งนัก และสุดท้ายเป็นการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ตามอาการค่ะ ในกรณีที่สุนัขไม่พร้อมในการรับการรักษาทั้ง 2 วิธี เช่นการให้ยาลดความดัน ยาขับน้ำ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงความร้ายกาจของพยาธิชนิดนี้แล้ว ร่วมกับการที่น้องหมาของเราถูกยุงกัดเป็นประจำ เราจึงควรที่จะป้องกันให้น้องหมาของเราปลอดภัย จากพยาธิชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้หลายวิธี
โรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะภูมิแพ้อาหาร (cutaneous adverse food reaction / food allergy) มักเกิดจากการที่สัตว์มีปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีนต่างๆในอาหาร วัตถุกันเสีย หรือสารแต่งกลิ่นและรสชาติที่อยู่ในอาหาร โดยในรายที่มีการแพ้อาหาร ภายหลังจากการกินอาหารที่มีส่วนประกอบที่กระตุ้นให้แพ้ ผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ทำให้ร่างกายหลั่งสารอักเสบที่ผิวหนัง และมักตามด้วยการติดเชื้อแบคทีเรีย และยีสต์ที่ผิวหนังได้ง่าย จากการศึกษาพบว่า ภาวะภูมิแพ้อาหารมักเกิดกับสุนัขที่กินอาหารเดิม ๆ มานาน สุนัขที่แสดงอาการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน นั่นหมายความว่า ร่างกายได้มีความผิดปกติมาสักระยะหนึ่งแล้ว จนถึงจุดที่ร่างกายไม่สามารถทนต่อไปได้อีก จึงเริ่มแสดงอาการออกมาให้เราเห็น รูปที่ 1 แสดงกลไกทางระบบภูมิคุ้มกันต่อภาวะภูมิแพ้อาหาร ในกลุ่มโรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแพ้อาหารพบได้บ่อยเป็นลำดับสาม (10 – 15%) รองจากผิวหนังอักเสบจากการแพ้น้ำลายหมัด (flea allergic dermatitis) และ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ละอองในอากาศ (atopic dermatitis) อาการของโรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้อาหารจะมีความใกล้เคียงกับโรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ละอองในอากาศ จึงไม่สามารถที่จะแยกกันจากรอยโรคภายนอกได้ แต่โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแพ้อาหาร สุนัขจะมีการอักเสบของผิวหนังตลอดทั้งปี โดยไม่สัมพันธ์กับฤดูกาล (non-seasonal allergic skin disease)