-
หากเพิ่งได้มาและอยู่ที่บ้านยังไม่เกิน 1 สัปดาห์ ยังไม่แนะนำให้ทำวัคซีนนะคะ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่เครียดของลูกสุนัขและลูกแมวค่ะ จากการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนเจ้าของ และการเดินทางล้วนทำให้เกิดภาวะเครียดทั้งสิ้น หากทำวัคซีนในช่วงนี้ สัตว์จะอ่อนแอและป่วยง่าย รวมทั้งในช่วง 1 สัปดาห์แรกถือเป็นช่วงกักโรคด้วยค่ะ ไม่ควรเลี้ยงรวมกับสุนัขหรือแมวตัวอื่นๆที่บ้าน หากน้องหมาน้องแมวที่เพิ่งได้มามีเชื้อโรคอยู่ภายในร่างกาย น้องเค้าจะแสดงอาการออกมาให้เห็น ที่มักพบคือ ไม่กินอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ไอหรือจาม หากมีอาการให้รีบพามาพบสัตวแพทย์ทันทีค่ะ แต่หากน้องหมาน้องแมวแข็งแรงดี อยู่บ้านครบ 1 สัปดาห์ ก็สามารถพามาที่โรงพยาบาลสัตว์เพื่อเริ่มต้นการทำวัคซีนได้เลยค่ะ
-
เห็บกับสุนัขเหมือนเป็นของคู่กันสำหรับเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ยิ่งช่วงไหนฝนตกด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ การกำจัดเห็บนั้นมีหลายวิธีและหลายผลิตภัณฑ์ค่ะ ทั้งยาฉีด ยาหยอดหลัง ยากิน สเปรย์ ปลอกคอ แชมพูยา แป้ง เป็นต้น โดยแต่ละวิธีมีความเหมาะสมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของสุนัข ลักษณะการเลี้ยงดู ปริมาณเห็บ-หมัดที่พบ และราคา ทั้งนี้สามารถขอคำแนะนำผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บ-หมัดที่เหมาะสมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ค่ะ
-
ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งค่ะ การกินกระดูกสัตว์ในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหมูหรือกระดูกไก่ ช่วงแรกจะไม่เห็นว่าสุนัขมีอาการใดๆค่ะ แต่พอนานวันเข้า สุนัขจะป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากกระดูกที่เราเห็นเป็นท่อนพอผ่านกระบวนการเคี้ยวแล้วจะแตกเป็นเหมือนปากฉลาม กระดูกเหล่านี้ก็จะทิ่มแทงผนังทางเดินอาหาร จึงเกืดภาวะเจ็บป่วยขึ้นมา หรือหากสุนัขตัวใดกินกระดูกเข้าไปมากๆสิ่งที่จะพบได้คือภาวะท้องผูก ดังนั้นหากเจ้าของอยากให้สุนัขที่บ้านทานกระดูกแนะนำเป็นกระดูกแทะเล่นสำหรับสุนัขซึ่งมีวางขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดปัจจุบัน
-
การที่สุนัขหรือแมวไม่ยอมทานอาหารตามเดิมนั้น สิ่งที่จะต้องมองมีอยู่ 2 ปัญหาด้วยกันค่ะ คือ ปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาจากภาวะการเจ็บป่วย โดยหากเป็นภาวะเจ็บป่วยนั้นต้องพาตรวจวินิจฉัยกับทางโรงพยาบาลเพื่อพิจารณาการรักษาต่อไป แต่หากเป็นที่ปัญหาพฤติกรรมแล้ว การรักษาทางยามักเลือกให้เป็นคำตอบทุกท้าย เราต้องหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ทำให้ไม่กินอาหาร เช่น มีพฤติกรรมเลือกกินหรือไม่ เป็นช่วงติดสัดหรือไม่ ภาวะเครียดหรือไม่ เป็นต้น หากแก้ไขได้ตรงจุดแล้วสัตว์เลี้ยงก็จะกลับมาทางอาหารตามปกติโดยไม่ต้องใช้ยาใดๆค่ะ
-
ปกติแล้วจะแนะนำให้ทำหมันเมื่อไม่ต้องการให้เป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์แล้ว ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วยที่ตามมาในอนาคต (ตามอายุของสัตว์เลี้ยงที่มากขึ้น) ในตัวผู้เอง หากไม่ทำหมัน พออายุมากเข้าก็จะป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตได้ง่ายขึ้น ส่วนตัวเมีย หากไม่ทำหมันก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นมดลูกอักเสบได้ และถ้าทำหมันก่อนการเป็นสัดครั้งแรกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมของน้องหมาได้อีกด้วยค่ะ
-
การวางยาเพื่อทำการผ่าตัดนั้น มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว เราจะมองกันที่ 3 จุดของกระบวนการผ่าตัด คือ 1. ก่อนผ่าตัด เราจะต้องทำการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจหัวใจของสัตว์ป่วยก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ยา การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ การตั้งทีมบุคลากรในการวางยาและผ่าตัด 2.ระหว่างผ่าตัด ควรเลือกสถานประกอบการที่มีเครื่องมือที่พร้อมและสะอาด ทีมสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญ เครื่องมอนิเตอร์สัญญาณชีพและเครื่องช่วยชีวิตที่ทันสมัย 3. หลังผ่าตัด ขั้นตอนนี้มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากที่สุด โดยหลังผ่าตัดแล้ว สัตว์ป่วยจะต้องได้รับการให้น้ำเกลือ ออกซิเจน ยาลดปวด และมอนิเตอร์สัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง หากเราสามารถทำได้ทั้ง 3 ขั้นตอน ความเสี่ยงของการเสียชีวิตเนื่องจากการวางยาย่อมลดลง เจ้าของสามารถรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยการติดต่อที่สัตวแพทย์โดยตรงนะคะ